วันอังคารที่ ๑๔ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๕๑

บ้านเราสร้างค่านิยมในสายอาชีพด้าน IT กันถูกหรือไม่ (Thai IT Career Path rigth or wrong?)

ยุคสมัยที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ที่เป็นผลมาจากความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี
ทำให้เราซึ่งทำงานเรื่อยๆ กลับกลายเป็นคนล้าหลัง โดยไม่คาดคิด
ไม่ใช่เพราะเราหัวโบราณ แต่เป็นเพราะเราไม่รู้ว่าโลกนั้นก้าวหน้าไปรวดเร็ว

คนเรามีความคิดและชีวิตแตกต่างกัน สิ่งแวดล้อมต่างกัน งานอดิเรกต่างกัน
แต่สิ่งหนึ่งที่คนในวงการคอมฯ ต้องตระหนักคือ บริบทที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว
แตกต่างจากบริบทในวงการอื่น เช่น วงการนิติศาสตร์ วงการรัฐศาสตร์ ที่นานๆจะเปลี่ยนกฎหมาย เปลี่ยนระบอบการปกครอง ซักที

ถามว่าผิดไหม ถ้าไม่ปรับตัวตามกระแส ก็ต้องตอบได้เลยว่า ไม่ผิด
แต่ Value ของคุณจะต่ำโดยธรรมชาติของยุคสมัยไปเอง

ดังนั้นสิ่งที่เราทำกันอยู่ คือ การเปลี่ยน career path ไปส่วนงานที่ไม่ใช้ทักษะเชิงเทคนิค
สังเกตว่าบ้านเรา ไม่มีตำแหน่งวิศวะกรอาวุโส ไม่มีโปรแกรมเมอร์ประสบการณ์สูงมีอายุ ไม่มี SA อายุ 50
แต่หลายๆคนก็จำใจเปลี่ยน เพราะเรื่องเงินเดือน

เรานิยมเรียนต่อ MBA เพื่อเลี่ยงการปรับตัวตลอดเวลาต่อเทคโนโลยี และคาดหวังจะเป็นหัวหน้าคน หรือเงินเดือนสูงๆ นอกจากนั้นยังมีค่านิยมที่เห็นว่าการบริหารใช้สมองมากกว่าเชิงเทคนิค (ที่ใช้แรงงาน)
เราจึงขาดคนที่เข้าใจต่อปัญหาการผลิตซอฟต์แวร์อย่างมาก เพราะคนที่มีประสบการณ์เปลี่ยนไปสายบริหาร
พอไม่ได้ใช้นานๆ ก็ลืม น่าเสียดายความรู้และประสบการณ์เชิงเทคนิค

อยากฝากให้พวกเราช่วยตระหนัก และเรียกร้องให้ผู้ใหญ่ส่งเสริม Career Path เชิงเทคนิค เพื่อให้อุตสาหกรรมซอฟต์แวร์ไทยก้าวไกลกว่านี้ครับ


จากรูปด้านบนจะเห็นได้ว่า ตำแหน่งงานในวงกลมสีเขียวส่วนมาก (คิดว่ามากกว่า 95% - ความคิดเห็นส่วนตัว รอคนทำสถิติอยู่) จะย้ายตำแหน่งไปเป็นสายเชิงบริหารในอนาคต ทำให้ตำแหน่งงานในวงกลมสีแดงขาดแคลนอย่างมาก ซึ่งเป็นเพราะปัจจัย 2 อย่าง คือ เงินเดือนในตำแหน่งนั้นๆ เทียบกับตำแหน่งที่ทำได้ในสายอื่นๆ และความรู้ของคนที่จะมาทำ

ขอยกคำพูดขอ ดร.รอม หิรัญพฤกษ์ ผู้อำนวยการเขตอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์ประเทศไทย ซอฟต์แวร์ปาร์ค เมื่อ 4-5 ปีที่แล้ว มาเป็นอุทธาหรณ์ดังนี้ครับ "......บุคลากรไอทีทั่วโลกมี 30 ล้านคน มีคนที่เป็น SA อยู่ประมาณ 1% ส่วนไทยมีบุคลากรไอที 35,000-40,000 คน ใช้บัญญัติไตรยางค์ก็จะได้ออกมาประมาณ 300-400 คน ตัวเลขกลมๆ และจากผลสำรวจพบว่า 70% ของสาเหตุที่ระบบไอทีล่มเหลวคือขาด SA ที่เชี่ยวชาญ........."

เป็นคำถามฝากให้คิดกันต่อไปแล้วกันครับว่า ที่ ดร.รอม พูดคำว่า SA ที่เชี่ยวชาญ นั้น หมายถึง SA ที่มีบาทหน้าที่อย่างไร เพราะหลายองค์กร จะให้ SA ทำหน้าที่ทั้ง Business Analyze, Software Design หรือบางทีอาจเหมือน Documentator หรือ Coordinator ไปเลยก็มี

ข้อมูลเพิ่มเติม:
ชำแหละจุดอ่อนอุตฯซอฟต์แวร์ไทย มีแต่รายย่อย-ขาดศักยภาพรับงานใหญ่
ความสำคัญของมาตรฐานคุณภาพ ต่ออุตสาหกรรมซอฟต์แวร์ไทย
ชมรมสถาปนิกซอฟแวร์ หรือ IASA Thailand Chapter

Related Post